ReadyPlanet.com


ถมน้ำลายรดปัญญา


 มนุษย์ถูกสร้างขึ้นให้มีสิ่งพิเศษทั้งปวงบนโลกคือปัญญา ที่หาสัตว์ประเภทใดเทียบเคียงมิได้ นี่อาจเป็นเพราะความต้องการของธรรมชาติที่มีเป้าหมายอย่างหนึ่งก็เป็นได้ (บทความธรรมะย่อมๆ)


สิ่งหนึ่งของการมีปัญญาของมนุษย์นี้หมายถึง มนุษย์สามารถใช้วิธี หรือเป็นผู้จัดการสิ่งต่างๆ ได้โดยวิธีและวิถีที่แตกต่างออกไป ดังเช่นว่า เมื่อถูกสัตว์เล็กๆ ที่คุกคามอย่าง ยุง มนุษย์ใช้ปัญญาสร้างสรรค์ปกป้องตนได้มากหลากวิธี เสื้อผ้า มุ้ง ยาทากันยุง หรือวิธีโดยธรรมชาติอย่างการใช้เปลือกส้ม เหล่านี้ทำได้โดยไม่ต้อง “ฆ่า” นี่คือ “วิถีจากปัญญา” ที่นำพามนุษย์ให้เรียกตัวเองว่าสัตว์ประเสิรฐได้ ไม่ยาก..

แต่มนุษย์ผู้มีปัญญากันทุกคนนี้ กลับมีจุดแตกต่างตรงที่การนำมาใช้ ที่เห็นมากมายคือปัญญาสิ้นหายเพียงเพราะน้ำลายที่สาดพ่นออกมา ที่น่าอนิจจากับวันนี้เพียงแค่ประโยคที่มีทำนองว่า “เราเลิกกัน” หรือ “ฉันรักคนอื่นแล้ว” การ “ฆ่า” ด้วยเหตุนี้จึงเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ที่ไม่ส่งเสริมปัญญา

ย้อนมองบางทีผู้ที่สิ้นปัญญาหาทางออกจากคำพูดอย่างหนึ่งจากผู้อื่นอาจเหมือนถูกน้ำลายทำลายปัญญาและสติสิ้น หรือบางทีเขาถมน้ำลายรดปัญญาตัวเองว่ามันไร้ค่าที่จะพาหาสิ่งดีๆ ให้ชีวิตได้อีกต่อไปแล้วกันแน่..หลายคนก็เข้าใจดีว่า เรื่องแย่ ๆ หลายเรื่องมันเกิดจากปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ การจะพูดอะไรไปมันล้วนไร้ประโยชน์ นิ่ง เฉย อยู่แต่กับตัวเองไปเสียดีกว่า เช่นนี้ก็ดี…

แต่ก็มีไม่น้อยที่กลายเป็นว่า ปัจจัยโดยอย่างยิ่งเมื่อเป็นคนอื่น พอเราไม่พูด กลับยิ่งมักง่าย, มองข้าม, หรือเข้าใจไปเองว่า ไม่จำเป็นต้องเกรงใจ บางทีก็นึกว่าที่เราไม่พูดนั้น มันดีแล้ว เราชอบแล้ว… สล็อตออนไลน์

ดังนั้นแม้การไม่บ่น ไม่ด่า ไม่พูด เป็นสิ่งที่ดีกว่าในหลายสถานการณ์ แต่ก็ใช่ทั้งหมด การไม่พูดเลยบางทีก็แย่ลง, สร้างความเข้าใจผิด, ไม่มีอะไรดีขึ้นเช่นกัน

ซึ่งการไม่พูด เก็บไว้ แล้วขจัดออกไปจากใจได้เองก็ถือว่าจัดการภาวะอารมณ์ได้ดีเยี่ยม ทว่าแม้ไม่ถึงกับรกจิตใจแต่นานไปมันก็เป็นตะกอน..

การบ่นบ้าง ติงบ้าง เตือนบ้าง บอกบ้าง น้อย ๆ จึงเป็นเหมือนยาระบาย นอกจากของเสียจะพ้นไป ยังทำให้เราโล่ง และเบา เหมือนยกภาระบางอย่างออกไป แน่นอนถ้ามากไปคงเป็นยาถ่ายที่ไม่ใช่ระบายแค่ของเสีย ของดีก็เสียไปด้วยและปวดทรมาน ทีนี้ก็อยู่ที่ว่า มากน้อยแค่ไหนจะพอดี ที่ถ้าควบคุมให้ได้ น้อย ๆ เป็นยาระบาย ได้แน่นอน 

การฝึกฝนและพัฒนามนุษย์นั้นทางพุทธศาสนาจัดวางเป็นหลักเรียกว่า ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งถือว่าเป็นระบบการศึกษาที่ทำให้บุคคลพัฒนาอย่างมีบูรณาการ และให้มนุษย์เป็นองค์รวมที่พัฒนาอย่างมีดุลยภาพ สล็อตออนไลน์

๑. ศีล เป็นเรื่องของการฝึกในด้านพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมเคยชิน เครื่องมือที่ใช้ในการฝึกศีล ก็คือวินัย วินัยเป็นจุดเริ่มต้นในกระบวนการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ เพราะว่าวินัยเป็นตัวการจัดเตรียมชีวิตให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อการพัฒนา โดยจัดระเบียบความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคม ให้เหมาะกับการพัฒนาและให้เอื้อโอกาสในการที่จะพัฒนา เมื่อฝึกได้ผลจนคนมีพฤติกรรมเคยชินที่ดีตามวินัยนั้นแล้วก็เกิดเป็นศีล ดังนั้น โดยสรุปวินัยจะมาในรูปของการฝึกพฤติกรรมเคยชินที่ดี และการจัดสภาพแวดล้อม ที่จะป้องกันไม่ให้มีพฤติกรรมที่ไม่ดี และเอื้อต่อการมีพฤติกรรมที่ดีที่พึงประสงค์ การฝึกคนให้คุ้นกับพฤติกรรมที่ดี ตลอดจนการจัดระเบียบระบบทั้งหลายทั้งปวงในสังคมมนุษย์

๒. สมาธิ เป็นเรื่องของการฝึกในด้านจิต หรือระดับจิตใจ ได้แก่การพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ ของจิต ทั้งในด้านคุณธรรม เช่น ความเมตตากรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในด้านความสามารถของจิต เช่น ความเข้มแข็งมั่นคง ความเพียรพยายาม ความรับผิดชอบ ความแน่วแน่มั่นคง ความมีสติ สมาธิ และในด้านความสุข เช่น ความอิ่มใจ ความร่าเริงเบิกบานใจ ความสดชื่นผ่องใส ความรู้สึกพอใจ พูดสั้นๆ ว่า พัฒนาคุณภาพ สมรรถภาพ และสุขภาพของจิต

๓. ปัญญา เป็นเรื่องของการฝึกหรือพัฒนาในด้านการรู้ความจริง เริ่มตั้งแต่ความเชื่อ ความเห็น ความรู้ ความเข้าใจ ความหยั่งรู้เหตุผล การรู้จักวินิจฉัย ไตร่ตรอง ตรวจสอบ คิดการต่างๆ สร้างสรรค์ เฉพาะอย่างยิ่งเน้นการรู้ตรงตามความเป็นจริง หรือรู้เห็นตามที่มันเป็น ตลอดจนรู้แจ้งความจริงที่เป็นสากลของสิ่งทั้งปวง จนถึงขั้นรู้เท่าทันธรรมดาของโลกและชีวิต ที่ทำให้มีจิตใจเป็นอิสระ ปลอดปัญหา ไร้ทุกข์ เข้าถึงอิสรภาพโดยสมบูรณ์

หลักทั้ง ๓ ประการที่กล่าวมานี้ เป็นส่วนประกอบของชีวิตที่ดีงาม เราก็ฝึกคนให้เจริญงอกงามในองค์ประกอบเหล่านี้ และให้องค์ประกอบเหล่านี้นำเขาสู่การเข้าถึงอิสรภาพและสันติสุขที่แท้จริง ตัวการฝึกที่จะให้มีชีวิตที่ดีงามเป็นสิกขา ตัวชีวิตที่ดีงามที่เกิดจากการฝึกนั้นก็เป็นมรรค



ผู้ตั้งกระทู้ mii (lelemimi888-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2023-08-22 17:36:12 IP : 101.108.126.19


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.